G007AA ACETIC ACID : กรดน้ำส้ม (มาเลเซีย)
CAS Number : | 64-19-7 |
Formula : | CH3COOH |
Appearance : | Clear, Colorless |
Assay : | 99.85%Min |
INS No : | INS: 260 |
รายละเอียดทั่วไป
กรดอะซิติก (Acetic acid) หรือ กรดน้ำส้ม หรือ กรดเอทาโนอิก (Ethanoic acid) เป็นกรดอินทรีย์ (Organic acid) มีสูตรทางเคมี คือ CH3COOH เป็นของเหลวใสไม่มีสี มีกลิ่นฉุน แสบจมูก ระเหยได้ จัดเป็นวัตถุดิบสำคัญในการผลิตน้ำส้มสายชู รวมถึงนำไปใช้ประโยชน์ในทางอุตสาหกรรม ด้านการเกษตร และทางการแพทย์
ประโยชน์ด้านต่างๆ
1. เป็นวัตถุดิบผลิตน้ำส้มสายชู
น้ำส้มสายชู เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการนำกรดอะซิติกมาเจือจางให้มีความเข้มข้นประมาณ 4-18% โดยปริมาตร แบ่งออกเป็น 3 ชนิด ได้แก่
1.1 น้ำส้มสายชูหมัก
น้ำส้มสายชูหมัก หรือ น้ำส้มสายชูแท้ เป็นน้ำส้มสายชูที่ได้จากการหมักเพียงอย่างเดียว โดยใช้วัตถุดิบสำคัญ ได้แก่ แป้งมันสำปะหลัง แป้งจากข้าว หรือแป้งจากเมล็ดธัญพืชอื่นๆ รวมถึงกากน้ำตาล และผลไม้ชนิดต่างๆ ประกอบด้วยขั้นตอนการหมัก 2 ขั้นตอน คือ
- การหมักน้ำตาลให้เป็นแอลกอฮอล์ (alcoholic fermentation)
- การหมักแอลกอฮอล์ให้เป็นกรดอะซิกติก (acetic acid fermentation)
ทั้งนี้ น้ำส้มสายชูหมักที่ได้มาตรฐาน จะต้องมีลักษณะใส ไม่ขุ่น ไม่มีตะกอนหรืออาจมีตะกอนได้บ้าง แต่ต้องเป็นตะกอนที่เกิดขึ้นจากการหมักตามธรรมชาติ มีกลิ่นหอมตามกลิ่นวัตถุดิบที่ใช้หมัก มีความหวานของน้ำตาลเล็กน้อย โดยต้องมีความเข้มข้นของกรดอะซิติก (acetic acid) ไม่น้อยกว่า 4%
1.2 น้ำส้มสายชูกลั่น
น้ำส้มสายชูกลั่น สามารถผลิตได้หลายวิธี ได้แก่
- ใช้เอทธิลแอลกอฮอล์ (Ethyl Alcohol) ที่มีความเจือจางมาหมักร่วมกับเชื้อน้ำส้มสายชู แล้วนำไปกลั่น
- ใช้น้ำส้มสายชูหมักมากลั่น แล้วทำให้เจือจาง
ทั้งนี้ น้ำส้มสายชูกลั่นที่ได้มาตรฐานจะต้องมีลักษณะใส ไม่มีความขุ่นหรือมีตะกอน โดยต้องมีความเข้มข้นของกรดอะซิติกไม่น้อยกว่า 4% และน้ำส้มสายชูที่ขายตามท้องตลาด ส่วนมากเป็นน้ำส้มสายชูกลั่น
1.3 น้ำส้มสายชูเทียม
เป็นน้ำส้มสายชูเทียม ที่ใช้กรดอะซิติกสังเคราะห์ (Acetic acid) ความเข้มข้นประมาณ 95% มาเจือจางจนให้เหลือความเข้มข้นประมาณ 4-7% เป็นน้ำส้มสายชูที่มีลักษณะใส ไม่มีสี ทั้งนี้ การผลิตจำเป็นต้องใช้กรดอะซิติกสังเคราะห์ที่มีความบริสุทธิ์สูงจึงจะเหมาะสำหรับนำไปใช้ในอาหารได้
2. ใช้เป็นสารเคมีสำคัญในการทำปฏิกิริยาเคมีในกระบวนการผลิตสารอนุพันธ์ของกรดอะซิติก ได้แก่
- ไวนิลอะซิเตท (Vinyl acetate)
- กรดเทเรฟทาลิค (Terephthalic acid, TPA)
- อะซิเตทเอสเทอร์ (Acetate ester)
- อะซิติกแอนไฮไดร์ (Acetic anhydride)
- เซลลูโลสอะซิเตท (Celluloseacetate)
3. ด้านอาหาร
กรดอะซิติก ถูกใช้เป็นส่วนผสมในอาหารเพื่อป้องกันการเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์ที่เป็นสาเหตุทำให้อาหารบูดเน่า ใช้เพื่อปรับความเป็นกรด-ด่างของอาหาร และช่วยยืดอายุการเก็บรักษาอาหาร นอกจากนั้น ยังใช้เพื่อการเพิ่มรสเปรี้ยวในอาหารเป็นสำคัญ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับชนิดของอาหารที่ต้องการรสเปรี้ยวมากหรือน้อย หากใช้ความเข้มข้นมากจะทำให้เกิดรสเปรี้ยวมาก อาหารที่มีการใช้กรดอะซิติก ได้แก่ น้ำสลัด ผักดอง ผลไม้ดอง และซอสชนิดต่างๆ เป็นต้น
- การใช้กรดอะซิติกในอาหาร นิยมใช้ใน 2 รูปแบบ คือ
- ใช้ในรูปของน้ำส้มสายชู ในความเข้มข้นของกรดอะซิติก 5-10%
- ใช้ในรูปสารละลายกรดอะซิติกสังเคราะห์ ความเข้มข้น 25-80%
4. ด้านการเกษตร
กรดอะซิติก ถูกใช้เป็นส่วนผสมของน้ำยาควบคุมเชื้อรา น้ำหมักชีวภาพ หรือผสมน้ำฉีดพ่น เพื่อใช้ควบคุมเชื้อราในแปลงผัก และผลไม้
5. ด้านการแพทย์
กรดอะซิติกเข้มข้นถูกนำมาใช้ในทางการแพทย์ โดยนำกรดอะซิติกมาเจือจางร่วมกับสารประกอบอื่น ได้แก่
- สารประกอบโพรไพลีน ไกลคอล (Propylene glycol)
- สารละลายอะลูมิเนียม อะซิเตรท (Aluminium acetate)
- สารละลายกรดบอริก (Boric acid)
- สารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ (Sodium hydroxide)
- สารละลายอะลูมิเนียมซัลเฟต (Aluminium sulfate)
- สารละลายแคลเซียมคาร์บอเนต (Calcium carbonate )
- น้ำบริสุทธิ์
การใช้งาน อุตสาหกรรมการผลิตส่วนผสมของกรดน้ำส้ม
- อุตสาหกรรมพลาสติก
- อุตสาหกรรมย้อมสีและพิมพ์
- อุตสาหกรรมยาฆ่าแมลง
- อุตสาหกรรมภาพถ่าย
- อุตสาหกรรมอาหาร
- อุตสาหกรรมสิ่งทอ
ข้อมูลสินค้า
ชื่อทั่วไป : Acetic Acid / อเซติก เอซิด
แหล่งผลิตสินค้า : มาเลเซีย (Malaysia)