F016SC Sodium Chloride : โซเดียม คลอไรด์ (เกลือ)
เลขสารบบ 10-1-23362-5-0002
CAS Number : | 7647-14-5 |
Formula : | NaCI |
Appearance : | Colorless or white solid |
Specific Gravity : | 2.165 |
P.H. : | 7-9.3% |
รายละเอียดทั่วไป
เกลือ หรือ โซเดียมคลอไรด์ สูตรเคมี: NaCl มีชื่อที่เรียกทั่วไปดังนี้ เกลือแกง หรือ ฮาไลต์เป็นสารประกอบเคมี โซเดียมคลอไรด์เป็นเกลือที่มีบทบาทต่อความเค็มของมหาสมุทร และของเหลวภายนอกเซลล์ของสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ เป็นส่วนประกอบหลักในเกลือที่กินได้ มันถูกใช้อย่างกว้างขวางในการเป็นเครื่องปรุงรส และใช้ในการถนอมอาหาร
เกลือบริสุทธิ์ โซเดียมคลอไรด์ยิ่งสูง
รสเค็มในเกลือ เกิดจากโซเดียมคลอไรด์ ยิ่งเกลือบริสุทธิ์มากเท่าไร ก็จะมีโซเดียมคลอไรด์สูง มีแร่ธาตุอื่นเจือปนน้อย ทำให้เกลือนั้นจะยิ่งเค็ม สิ่งที่ทำให้เกลือไม่บริสุทธิ์ คือสารประกอบของแร่ธาตุอื่นๆ ที่มีอยู่ตามธรรมชาติ เช่น แมกนีเซียมคลอไรด์ โพแทสเซียมซัลเฟต เป็นต้น จับตัวอยู่ในผลึกเกลือระหว่างการผลิต โดยส่วนใหญ่มาจากดินในนาเกลือทะเล หรือแร่ธาตุในดินที่ต่างกันไปตามแหล่งผลิตเกลือสินเธาว์ ทำให้เกลือจากต่างแหล่งผลิตจึงมีรสชาติที่ต่างกันไป
ข้อดีข้อเสีย ของโซเดียมในเกลือ
แร่ธาตุหลักในเกลืออย่าง ‘โซเดียม’ มีทั้งประโยชน์และโทษต่อสุขภาพ โซเดียมเป็นแร่ธาตุที่ช่วยรักษาสมดุลของน้ำในร่างกายและความดันโลหิต แต่ถ้าร่างกายได้รับโซเดียมที่มากเกินความจำเป็น จะทำให้เกิดโรคต่างๆ ได้ เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคไต และโรคหัวใจ จึงต้องบริโภคโซเดียมให้เหมาะสม คือ ร่างกายมนุษย์ต้องการโซเดียมประมาณวันละ 1,500 มิลลิกรัมต่อวัน สำหรับบุคคลที่อายุตั้งแต่ 13 ปีขึ้นไป หรือเท่ากับเกลือประมาณ ¾ ช้อนชา ก็เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายแล้ว
เกลือทะเล และเกลือสินเธาว์ ต่างกันอย่างไร
เกลือที่เราบริโภคกันแบ่งเป็นสองกลุ่มใหญ่ คือ เกลือทะเล (Sea Salt) ผลิตจากน้ำทะเล และอีกกลุ่มคือ เกลือหิน (Rock Salt) ซึ่งเป็นทรัพยากรแร่ธาตุ เกลือกลุ่มนี้ที่ใช้บริโภค เรียก ‘เกลือแกง’ หรือที่เราคุ้นชื่อว่า ‘เกลือสินเธาว์’
การผลิตเกลือทะเล ใช้วิธีขังน้ำทะเลไว้ในนาเกลือ แล้วใช้ความร้อนจากแสงอาทิตย์ระเหยน้ำออก จนน้ำเกลือเข้มข้นขึ้นและตกผลึกจึงนำไปผึ่งให้แห้ง แล้วนำไปผ่านกระบวนการผลิต เช่น ล้างทำความสะอาดด้วยน้ำเกลือหลายๆ รอบ ผึ่งให้แห้งและนำมาบรรจุถุงขาย การผลิตเกลือทะเลไม่นิยมนำมาต้ม เพราะเพิ่มต้นทุน เนื่องจากในน้ำทะเลมีแร่ธาตุอื่นๆ และสารหรือสิ่งเจือปน (impurity) อยู่มาก กระบวนการต้มเคี่ยวไม่สามารถแยกสิ่งเหล่านั้นออกได้ ผลผลิตที่ได้จากนาเกลือทะเล อาทิ
ดอกเกลือ : คือ ผลึกเกลือที่จับกับสารประกอบอื่นในน้ำทะเลและแร่ธาตุในดินนาเกลือ กลายเป็นผลึกลอยที่ผิวน้ำ มีรสเค็มนุ่มนวล
เกลือแก้ว : คือ เกลือทะเลชุดแรกของการทำนาเกลือครั้งแรกในแต่ละปี และนับเฉพาะเกลือส่วนบนของกองเกลือที่มีความขาวใสเท่านั้น เป็นเกลือสะอาด และถือเป็นผลิตภัณฑ์พรีเมี่ยมของชาวนาเกลือทะเล
เกลือกลาง : คือ เกลือชั้นรองจากเกลือขาว มีสีเทานิดๆ เหมาะสำหรับนำไปใช้ล้างผัก ดองไข่เค็ม ให้ความเย็นกับไอศกรีม ไม่เหมาะกับการนำไปบริโภคโดยตรง
เกลือสินเธาว์ : ทำกันมากในเขตภาคอีสาน โดยการนำน้ำเกลือจากใต้ดินไปต้มเคี่ยวให้งวด หรือนำเกลือที่ผุดขึ้นมาที่หน้าดิน (ดินเอียด) ไปละลายน้ำและกรองผ่านแกลบและดิน เพื่อทำละลายเกลือลงสู่บ่อเก็บน้ำเกลือ ทำซ้ำๆ จนน้ำเกลือเข้มข้น จึงนำไปเคี่ยวให้งวดและกลายเป็นผลึกเกลือละเอียด
ประโยชน์ด้านต่างๆ
เกลือโซเดียมคลอไรด์มีบทบาทอย่างมากในอุตสาหกรรมอาหาร เนื่องจากราคาถูกและใช้ได้หลากหลายเพื่อเป็นเครื่องปรุงรส หรือใช้เพื่อการถนอมอาหาร เช่น การหมักเกลือ (salt curing) ช่วยลดแอคทิวิตี้ของน้ำ (water activity) ทำให้ยับยั้งการเจริญของจุลินทรีย์ที่ทำให้อาหารเสื่อมเสีย (microbial spoilage) และจุลินทรีย์ก่อโรค (pathogen) อาหารที่มีปริมาณเกลือสูง ได้แก่ กะปิ กุ้งแห้ง น้ำปลา ปลาร้า ปลาจ่อม กุ้งจ่อม ปลาส้ม ไตปลา ปูเค็ม เครื่องพริกแกง ผักดอง ปลาเค็ม ปลาแห้ง ไข่เค็ม เต้าเจี้ยว ซีอิ้วขาว น้ำเกลือเย็นจัดเข้มข้นยังใช้เพื่อเป็นตัวกลางการแช่เยือกแข็งอาหาร (freezing) โดยการจุ่ม (immersion freezing)
ชนิดของเกลือที่ใช้ในอาหาร
- เกลือสมุทร
- เกลือสินเธาว์
- เกลือบริโภคเสริมไอโอดีน
ข้อมูลสินค้า
ชื่อทั่วไป : Sodium Chloride, โซเดียม คลอไรด์, เกลือบริสุทธิ์,ชนิดปราศจากไอโอดีน
แหล่งผลิตสินค้า : ไทย (Thailand)
ข้อมูลจำเพาะ
Sodium Chloride (NaCl, Food Grade) เป็นเกลือบริสุทธิ์ ชนิดพิเศษแบบแห้ง มีความชื้นไม่เกิน 0.15 โดยจะเป็นเกรดสำหรับปรุงแต่งรส และทำเกลือขัดผิว
รสเค็มในเกลือ เกิดจากโซเดียมคลอไรด์ ยิ่งเกลือบริสุทธิ์มากเท่าไร ก็จะมีโซเดียมคลอไรด์สูง มีแร่ธาตุอื่นเจือปนน้อย ทำให้เกลือนั้นจะยิ่งเค็ม สิ่งที่ทำให้เกลือไม่บริสุทธิ์ คือสารประกอบของแร่ธาตุอื่นๆ ที่มีอยู่ตามธรรมชาติ เช่น แมกนีเซียมคลอไรด์ โพแทสเซียมซัลเฟต เป็นต้น จับตัวอยู่ในผลึกเกลือระหว่างการผลิต โดยส่วนใหญ่มาจากดินในนาเกลือทะเล หรือแร่ธาตุในดินที่ต่างกันไปตามแหล่งผลิตเกลือสินเธาว์ ทำให้เกลือจากต่างแหล่งผลิตจึงมีรสชาติที่ต่างกันไป
สั่งซื้อสินค้า Sodium Chloride : โซเดียม คลอไรด์ (เกลือ)
ได้ที่ Line@BKKCHEMI หรือหน้าร้านกรุงเทพเคมี โทร.02-034-1515,02-015-6262
เกลือโซเดียมคลอไรด์มีบทบาทอย่างมากในอุตสาหกรรมอาหาร เนื่องจากราคาถูกและใช้ได้หลากหลายเพื่อเป็นเครื่องปรุงรส หรือใช้เพื่อการถนอมอาหาร เช่น การหมักเกลือ (salt curing) ช่วยลดแอคทิวิตี้ของน้ำ (water activity) ทำให้ยับยั้งการเจริญของจุลินทรีย์ที่ทำให้อาหารเสื่อมเสีย (microbial spoilage) และจุลินทรีย์ก่อโรค (pathogen) อาหารที่มีปริมาณเกลือสูง ได้แก่ กะปิ กุ้งแห้ง น้ำปลา ปลาร้า ปลาจ่อม กุ้งจ่อม ปลาส้ม ไตปลา ปูเค็ม เครื่องพริกแกง ผักดอง ปลาเค็ม ปลาแห้ง ไข่เค็ม เต้าเจี้ยว ซีอิ้วขาว น้ำเกลือเย็นจัดเข้มข้นยังใช้เพื่อเป็นตัวกลางการแช่เยือกแข็งอาหาร (freezing) โดยการจุ่ม (immersion freezing)รสเค็มในเกลือ เกิดจากโซเดียมคลอไรด์ ยิ่งเกลือบริสุทธิ์มากเท่าไร ก็จะมีโซเดียมคลอไรด์สูง มีแร่ธาตุอื่นเจือปนน้อย ทำให้เกลือนั้นจะยิ่งเค็ม สิ่งที่ทำให้เกลือไม่บริสุทธิ์ คือสารประกอบของแร่ธาตุอื่นๆ ที่มีอยู่ตามธรรมชาติ เช่น แมกนีเซียมคลอไรด์ โพแทสเซียมซัลเฟต เป็นต้น จับตัวอยู่ในผลึกเกลือระหว่างการผลิต โดยส่วนใหญ่มาจากดินในนาเกลือทะเล หรือแร่ธาตุในดินที่ต่างกันไปตามแหล่งผลิตเกลือสินเธาว์ ทำให้เกลือจากต่างแหล่งผลิตจึงมีรสชาติที่ต่างกันไปของ Nacl เกลือ เกลือนั้นจะยิ่งเค็ม น้ำเกลือเย็นจัดเข้มข้นยังใช้เพื่อเป็นตัวกลางการแช่เยือกแข็งอาหารเกลือโซเดียมคลอไรด์มีบทบาทอย่างมากในอุตสาหกรรมอาหาร เนื่องจากราคาถูกและใช้ได้หลากหลายเพื่อเป็นเครื่องปรุงรส หรือใช้เพื่อการถนอมอาหาร เช่น การหมักเกลือ (salt curing) ช่วยลดแอคทิวิตี้ของน้ำ (water activity) ทำให้ยับยั้งการเจริญของจุลินทรีย์ที่ทำให้อาหารเสื่อมเสีย (microbial spoilage) และจุลินทรีย์ก่อโรค (pathogen) อาหารที่มีปริมาณเกลือสูง ได้แก่ กะปิ กุ้งแห้ง น้ำปลา ปลาร้า ปลาจ่อม กุ้งจ่อม ปลาส้ม ไตปลา ปูเค็ม เครื่องพริกแกง ผักดอง ปลาเค็ม ปลาแห้ง ไข่เค็ม เต้าเจี้ยว ซีอิ้วขาว น้ำเกลือเย็นจัดเข้มข้นยังใช้เพื่อเป็นตัวกลางการแช่เยือกแข็งอาหาร