S009SR Sodium Saccharin : โซเดียม แซคคาริน (ดีน้ำตาล)
เลขสารบบ 10-1-23362-5-0047
Saccharin is one of the oldest artificial sweeteners on the market. In fact, it has been used to sweeten foods and drinks for over 100 years.However, it wasn’t until the ’60s and ’70s that it became popular as a sugar replacement.Some say that replacing sugar with saccharin benefits weight loss, diabetes, and dental health.Others are skeptical about the safety of all artificial sweeteners, including this one.This article takes a detailed look at saccharin to determine whether it’s good or bad for your health.
CAS Number : | 128-44-9 |
Formula : | C7H4O3NSNa |
Appearance : | White Crystalline Powder |
รายละเอียดทั่วไป
แซคคาริน (Saccharin หรือ Saccharin sodium) หรือที่คนไทยเรียกว่า ขัณฑสกร มีลักษณะเป็นผลึกสีขาวไม่มีกลิ่นที่เป็นสารสังเคราะห์ ถูกค้นพบและใช้ในอาหารมาควบคู่กันกับไซคลาเมต (cyclamate) ทนต่อความร้อน ละลายในน้ำได้ดี ขัณฑสกรให้ความหวาน (relative sweetness) มากกว่าน้ำตาลทราย (sucrose) ถึง 300-700 เท่า ใช้เป็นสารให้ความหวานทดแทนน้ำตาล (sugar substitute) ให้รสหวานจัด และติดลิ้น บางคนอาจรู้สึกได้รสขมด้วยถ้าใช้ในปริมาณมาก สารนี้ไม่ให้พลังงาน จึงเป็นที่ใช้กันแพร่หลายในอาหารควบคุมน้ำหนักพลังงานต่ำ รวมทั้งในน้ำอัดลมและน้ำหวานต่างๆ แต่สำหรับในประเทศไทยไม่อนุญาตให้ใช้ขัณฑสกรในเครื่องดื่ม
วิธีเก็บรักษา : สามารถเก็บผลิตภัณฑ์แซคคารินในอุณหภูมิห้องที่เย็น เก็บในภาชนะที่ปิดมิดชิด พ้นแสงแดด ความร้อนและความชื้น ห้ามเก็บในห้องน้ำหรือในรถยนต์ และเก็บผลิตภัณฑ์แซกคารินให้พ้นมือเด็กและสัตว์เลี้ยง
คุณสมบัติทั่วไป
- ทนต่อความร้อน/ละลายในน้ำได้ดี/หวานมากกว่าน้ำตาลประมาณ 450 เท่า
- ปัจจุบันมีการนำแซคคารินมาเป็นสารให้ความหวานแทนน้ำตาล ในอาหารประเภทหมักดองกันอย่างแพร่หลาย ในปริมาณที่มาก รวมทั้งมีการใช้ในอาหารที่กระทรวงสาธารณสุข ห้ามใช้แซคคาริน เพราะไม่ให้พลังงานแก่ร่างกาย ได้แก่ เครื่องปรุงรส น้ำปลา ซอส ซีอิ๊ว นม และผลิตภัณฑ์นม เป็นต้น นอกจากนั้นยังพบว่า ในประเทศแคนาดา ห้ามใช้แซคคารินในอาหาร เนื่องจากมีการทดลองพบว่า ก่อให้เกิดมะเร็งของกระเพาะปัสสาวะในหนูทดลอง ซึ่งในปัจจุบันนี้ยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจน เกี่ยวกับพิษภัยของแซคคาริน เพราะปริมาณที่ทดลองในหนู เป็นปริมาณที่ใช้มากเกินกว่าที่จะเป็นจริงได้ สำหรับมนุษย์ อย่างไรก็ตามสำหรับในประเทศไทย กระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดให้แซคคารินเป็นสารที่ให้ความหวาน แทนน้ำตาล ในเครื่องดื่มไดเอท สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน และผู้ป่วยโรคอ้วน รวมทั้งกำหนดประเภทอาหาร ลักษณะอาหาร และผลิตภัณฑ์อาหารที่ห้ามใช้แซคคาริน เนื่องจากเป็นสารที่ไม่ให้พลังงานแก่ร่างกายไว้ด้วย เพื่อเป็นการคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของผู้บริโภค โดยเฉพาะเด็กเล็ก ที่อยู่ในช่วงที่ต้องการพลังงานสูง
ฉะนั้น แซคคารินจึงเป็นสารให้ความหวานแทนน้ำตาล ที่ใช้เฉพาะในผู้ป่วยโรคเบาหวาน ผู้ป่วยโรคอ้วนที่ต้องจำกัดปริมาณ น้ำตาลเท่านั้น ไม่ควรนำมาใช้กับอาหารทั่วไป
สำหรับด้านความปลอดภัยของการบริโภคขัณฑสกรยังเป็นปัญหาหนึ่ง ซึ่งนักวิชาการได้ถกเถียงกันมาร่วม 30 ปีแล้วเช่นเดียวกันกับไซคลาเมต (cyclamate) ที่ได้มีการทดลองพบว่า ขัณฑสกรสามารถทำให้เกิดโรคมะเร็งในกระเพาะปัสสาวะของสัตว์ทดลอง (บางประเทศจึงได้ประกาศห้ามใช้สารนี้ผสมอาหาร)
ข้อมูลสินค้า
ชื่อทั่วไป : Saccharin / 1,2-benzisothiazol-3(2H)-one 1,1-dioxide
แหล่งผลิตสินค้า : จีน (China)
เหมาะสำหรับ
ปริมาณการใช้ : ตั้งแต่ค.ศ. 2007 สหรัฐอเมริกา อนุญาตให้ใช้ตามปกติ ด้วยมีข้อพิสูจน์ว่าไม่เป็นสาเหตุของมะเร็ง ใน EU : ระดับสูงสุดที่อนุญาตให้ใช้ 0-5 มิลลิกรัม/ลิตร **การได้รับขัณฑสกร 5-25 กรัมต่อวัน เป็นระยะเวลาติดต่อกันหลายวัน หรือรับประทานครั้งเดียว 100 กรัม อาจทำให้มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องเดิน ปวดท้อง ซึมและชักได้ ในรายที่แพ้อาการผื่นผิวหนังร่วมด้วย**