F101IG I+G Disodium5-ribonucleotide : ไอพลัสจี ไดโซเดียม ไรโบนิวคลีโอไทด์
คุณสมบัติสินค้า
I+G เป็นเครื่องปรุงรสในการประกอบอาหารในปัจจุบัน ช่วยเสริมรสอูมามิให้เด่นชัดมากขึ้นเมื่อใช้ร่วมกับกลูตาเมตโดยผลการเสริมกันนี้มีลักษณะเป็นแบบ Synergistic Effect นอกจากกลูตาเมตแล้ว สารประเภท ไรโบนิวคลีโอไทด์ (Ribonucleotides) เช่น อิโนซิเนต (Inosinate) กัวไนเลต (Guanylate) ที่พบในอาหารและเครื่องปรุงรสบางชนิด มีความสำคัญในการเพิ่มรสอูมามิเช่นเดียวกัน โดยอิโนซิเนต ( I ) จะพบได้ในปลาโอแห้ง ปลาซาร์ดีนแห้ง และเนื้อสัตว์ ส่วนกัวไนเลต ( G ) จะพบในเห็ดหอม เห็ดชีตาเกะ ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นวัตถุดิบที่นิยมนำมาประกอบอาหาร ซึ่งทั้งอิโนซิเนตและกัวไนเลต (I+G) ก็ได้มีการผลิตในอุตสาหกรรมเช่นเดียวกับผงชูรส
I+G ออกฤทธิ์แรงกว่าผงชูรส 50-100 เท่า ใช้เพื่อการเป็นสารเสริมกลิ่นรสของเนื้อสัตว์ มีสมบัติในการเสริมกลิ่นรสที่หลากหลาย ปรับรสเค็ม หรือรสหวาน และกดรสที่ไม่ต้องการ ซึ่งสามารถละลายได้ดีในน้ำ และนำมาใช้ประกอบอาหาร ดังนี้
1. อาหารกึ่งสำเร็จรูป เช่น ซุปกึ่งสำเร็จรูป บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป โจ๊กกึ่งสำเร็จรูป
2. เครื่องปรุงรส เช่น ซีอิ๊ว ซอสปรุงรส น้ำปลา ซุปปรุงรสชนิดก้อน ซุปปรุงรสชนิดผง
3. ขนมขบเคี้ยวโดยใช้เป็นส่วนผสมเพื่อเสริมกลิ่นรส เช่น มันฝรั่งทอด แครกเกอร์
4. อาหารกระป๋อง เช่น ปลากระป๋อง
5. อาหารแห้ง เช่น ปลาหมึก ปลาตัวเล็ก ปลาป่น
6. ผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ เช่น ไส้กรอก แฮม เบคอน หมูยอ
หมายเหตุ: อูมามิ เป็นรสชาติของกลูตาเมตอิสระ หนึ่งในกรดอะมิโนซึ่งเป็นองค์ประกอบของโปรตีนที่พบได้ในอาหารตามธรรมชาติ และเครื่องปรุงรสต่างๆ อูมามิเป็นคำที่มาจากภาษาญี่ปุ่นซึ่งแปลว่ารสอร่อย ในภาษาไทยคำที่ใกล้เคียงที่สุดได้แก่ “รสหวานน้ำต้มกระดูก” หรือ “รสกลมกล่อม” รสอูมามิเป็น 1 ใน 5 รสชาติพื้นฐาน (Basic Taste) นอกเหนือไปจากรสเปรี้ยว หวาน เค็ม ขมที่ช่วยให้อาหารมีรสชาติโดยรวมดีขึ้น
ปริมาณการใช้
- ควรใช้ในปริมาณที่เหมาะสม เพราะการใส่มากเกินไปอาจทำให้รสชาติอาหารผิดแปลกได้
วิธีการเก็บรักษา
- ควรเก็บไว้ในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท อากาศแห้ง ถ่ายเทสะดวก และห่างจากความร้อน เก็บให้พ้นจากมือเด็กและสัตว์เลี้ยง